top of page

กราฟแปรผกผัน

แบบที่ 1 คือ แรงดันเท่ากัน แต่เปลียนค่าความต้านทาน 50 V

          ผลที่ได้ R = 1000 ค่าเท่ากับ 0.05

          ผลที่ได้ R = 100   ค่าเท่ากับ 0.5

          ผลที่ได้ R = 10     ค่าเท่ากับ 5

แบบที่ 2 เปลียนค่าแรงดันและความต้านทาน 30 V,10 Ohm ; 50 V,100 Ohm ; 80 V,1000 Ohm

          ผลที่ได้ R = 1000 และ V = 80 ค่าเท่ากับ 0.08

          ผลที่ได้ R = 100   และ V = 50 ค่าเท่ากับ 0.5

          ผลที่ได้ R = 10     และ V = 30 ค่าเท่ากับ 3

ในวงจรไฟฟ้ากระแสตรงกฎของโอห์มมักจะนำมาใช้อยู่บ่อยๆ เพราะกฎนี้บอกถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  แรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้าและความต้านทาน ความสัมพันธ์นี้ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ยอร์จ ไซมอน โอห์ม (George  Simon  Ohm) ซึ่งชื่อของเขาได้รับเกียรติเป็นชื่อหน่วยของความต้านทาน
    กฎของโอห์มกล่าวว่า  กระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรแปรผันโดยตรงกับแรงดันที่ป้อนและแปรผกผันกับความต้านทานของวงจร จากกราฟ มีกราฟ 2 แบบ แบบที่ 1 คือ แรงดันเท่ากัน แต่เปลียนค่าความต้านทาน ส่วนแบบที่ 2 เปลียนค่าแรงดันและความต้านทาน แต่สองกราฟที่เหมือนกันคือ จะมีค่ากระแสไฟฟ้าที่เปลียนไปตามค่าความต้านทาน ถ้ามีค่าความต้านทานมากกระแสไฟฟ้าจะใหลน้อย ถ้ามีค่าความต้านทานน้อยจะมีกระแสไฟฟ้าใหลมาก

การเขียนสมการตามกฎของโอห์ม

จากความสัมพันธ์ที่เป็นเชิงเส้นระหว่างแรงดันและกระแสสามารถนำมาเขียนเป็นสมการง่ายๆได้ดังนี้

แรงดัน (โวลท์) = กระแส (แอมป์) X  ความต้านทาน(โอห์ม)  หรือ     E = I x R
ในสมการนี้เพียงแต่เรารู้ค่า 2 ค่าเท่านั้นเราจะสามารถหาค่าที่สามได้ เช่นถ้ารู้กระแสและความต้านทาน ต้องการหาค่าแรงดันให้ใช้สูตร
E = I x R

 

ในสมการนี้เพียงแต่เรารู้ค่า 2 ค่าเท่านั้นเราจะสามารถหาค่าที่สามได้ เช่น

ถ้ารู้กระแสและความต้านทาน ต้องการหาค่าแรงดันให้ใช้สูตร       E = I x R

ถ้ารู้แรงดันและความต้านทาน ต้องการหาค่ากระแสให้ใช้สูตร       I = E / R

ถ้ารู้แรงดันและกระแส ต้องการหาค่าความต้านทานให้ใช้สูตร       R = E / I

 

 

 

Home

bottom of page